ThaiD ยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล
ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ด้วยแอปพลิเคชัน ThaID
ThaID หรือ ไทยดี สิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัลสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล ออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกการให้บริการภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ แทนการใช้บัตรประชาชนและเอกสารทะเบียนบ้าน ของประชาชน ผ่านแอปไทยดีได้ทันที
กรมการปกครอง พัฒนาแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อเป็นนวัตกรรมต้นแบบเพื่อการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ
ขั้นตอนการลงทะเบียนด้วยตนเอง
เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
* กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่
ขั้นตอนการลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
ทำการเปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน
* กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่
การคัดรับรองเอกสาร (ทำสำเนา) ด้วยตนเอง
(การยื่นขอเอกสารออนไลน์ ท.ร.14/1 และ ท.ร.12/2
เข้าใช้งานแอปพลิเคชัน ThaID และป้อนรหัสผ่าน 8 หลัก
คลิกที่ BORA WEB PORTAL ที่หน้าหลักของ ThaiD (ด้านล่างของภาพบัตรประชาชนของเรา)
คลิกที่ชื่อเว็ปไซต์ https://thportal.bora.dopa.go.th
คลิก Login ด้วย ThaiD
คลิก "เข้าสู่ระบบด้วย ThaiD" > เปิด rowser ของคุณ > ยินยอม
คลิกเมนู “การคัดรับรองเอกสารด้วยตนเอง"
คลิกเลือกเอกสารที่ต้องการคัดรับรอง (ท.ร.14/1 และ ท.ร.12/2)
คลิก “ยืนยัน” และ “ยืนยัน”
คลิกสัญลักษณ์ดาวน์โหลด (หลังรหัสเอกสาร ท.ร.ที่เลือก)
จากนั้นสามารถสั่งพิมพ์ลงกระดาษ หรือบันทึกไฟล์ (pdf) ได้
การพิมพ์เอกสารออกจากต้นฉบับที่เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าเอกสารที่พิมพ์นั้นเป็น "เอกสารสำเนา"
การตรวจสอบหนังสือรับรองของเอกสาร
สามารถตรวจสอบหนังสือรับรองของเอกสาร ท.ร.14/1 และ ท.ร.12/2 ได้ด้วยการแสกน QR Code หรือที่ปุ่ม”ตรวจสอบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์” และกรอกข้อมูลเลข reference ของเอกสารเพื่อตรวจสอบ
ท.ร. 12/2 รับรอง
ทะเบียนประวัติราษฎร
มีข้อสงสัย สแกนถาม ที่นี่
หรือ Call Center 1548
เอกสารทะเบียนราษฎร (รหัส ท.ร. xx)
(1) ท.ร. 1 เป็นสูติบัตร ใช้สำหรับคนที่มีสัญชาติไทยและแจ้งการเกิดภายในกำหนด
(2) ท.ร. 1/1 เป็นหนังสือรับรองการเกิด ใช้สำหรับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
(3) ท.ร. 1 ตอนหน้า เป็นใบรับแจ้งการเกิด
(3 ทวิ) ท.ร. 1/ก เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิด ที่คัดรายการจากฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
(4) ท.ร. 2 เป็นสูติบัตรใช้สำหรับคนที่มีสัญชาติไทยและแจ้งการเกิดเกินกำหนด
(5) ท.ร. 3 เป็นสูติบัตรใช้สำหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย
(6) ท.ร. 4 เป็นมรณบัตร ใช้สำหรับคนที่มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(7) ท.ร. 4/1 เป็นหนังสือรับรองการตาย ใช้สำหรับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่มีผู้รักษาพยาบาลโดยอาชีพ
(8) ท.ร. 4 ตอนหน้า เป็นใบรับแจ้งการตาย
(8 ทวิ) ท.ร. 4/ก เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนคนตายที่คัดรายการจากฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
(9) ท.ร. 5 เป็นมรณบัตร ใช้สำหรับคนที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(10) ท.ร. 6 เป็นใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ใช้สำหรับคนที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๔)
(11) ท.ร. 6 ตอนหน้า เป็นใบรับแจ้งการย้ายที่อยู่
(12) ท.ร. 7 เป็นใบแจ้งการย้ายที่อยู่ใช้สำหรับคนที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓)
(13) ท.ร. 8 บันทึกการเปรียบเทียบคดีความผิดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
(14) ท.ร. 8/1 แบบรายงานผลคดีเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (แบบรายงานของอำเภอ/ท้องถิ่น)
(15) ท.ร. 8/2 แบบรายงานผลคดีเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (แบบรายงานของจังหวัด)
(16) ท.ร. 9 เป็นใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน
(17) ท.ร. 13 เป็นทะเบียนบ้านใช้สำหรับคนที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(18) ท.ร. 14 เป็นทะเบียนบ้านใช้สำหรับคนที่มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
(19) ท.ร. 14/1 เป็นแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนของสำนักทะเบียนกลาง
(19 ทวิ) ท.ร. 15 เป็นบันทึกการรับแจ้งเอกสารเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรสูญหายหรือถูกทำลาย
(19 ตรี) ท.ร. 25 เป็นแบบการขอมีรายการบุคคลในเอกสารการทะเบียนราษฎรสำหรับกรณีการแจ้งเกิดเกินกำหนดและการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
(20) ท.ร. 31 เป็นคำร้องทั่วไป
(21) ท.ร. 97 ก. เป็นคำร้องใช้สำหรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ หรือจำหน่ายเกี่ยวกับบุคคลและบ้านในทะเบียนบ้าน
(22) ท.ร. 98 ก. เป็นแบบการให้เลขประจำตัวประชาชนใช้สำหรับบุคคลสัญชาติไทยก็ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
(23) ท.ร. 98 ข. เป็นแบบการให้เลขประจำตัวประชาชน ใช้สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 13)
(24) ท.ร. 98 ค. เป็นแบบการให้เลขประจำตัวประชาชนใช้สำหรับบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือได้รับสัญชาติไทย
(25) ท.ร. 99 ก. เป็นแบบการให้เลขรหัสประจำบ้านใช้สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่หรือไม่เคยให้เลขรหัสมาก่อน
(26) ท.ร. 99/1 เป็นแบบรายงานใช้สำหรับกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมรายการที่อยู่เกี่ยวกับบ้านเป็นจำนวนมากกว่า 1 หลัง ในคราวเดียวกัน (แบบพิมพ์ใน (7) และ (19) ตามระเบียบ ฯ เดิมถูกยกเลิกและแก้ไขใหม่ตามข้อ 9 แห่งระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ฯ (ฉ. 3) พ.ศ. 2544 และกำหนดแบบพิมพ์ตาม (3 ทวิ) (8 ทวิ) (19 ทวิ) และ (19 ตรี) ตามข้อ 10 ของระเบียบฉบับเดียวกัน)
เกี่ยวกับบ้านและทะเบียนบ้าน (ทร. 12/2 | ท.ร. 14/1 )
ความหมาย
บ้าน หมายความว่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และให้หมายความรวมถึงแพ หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย
ทะเบียนบ้าน หมายความว่า ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้านและ รายการของคน ทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน แยกเป็นหลายลักษณะ คือ
ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ใช้สำหรับลงรายการของคนที่มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว
ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ใน ลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ทะเบียนบ้านกลาง มิใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียน ซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
ทะเบียนบ้านชั่วคราว เป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอ เลขประจำบ้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ
การตรวจสภาพบ้านโดยบ้านแต่ละหลังที่จะกำหนดเลขประจำบ้านใช้ได้อย่างน้อยจะต้องมีการก่อสร้างในส่วนที่เป็นรากฐานของบ้านและมุงหลังคาเรียบร้อยแล้วหรือถ้าเป็นตึกหรืออาคารลักษณะอื่นในทำนองเดียวกัน จะต้องมีการก่อสร้างเป็นปริมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยมีหนังสือรับรองจากวิศวกรหรือนายช่างโยธาที่ควบคุมก่อสร้าง นายทะเบียนจัดทำทะเบียนชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว และสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราวฉบับเจ้าบ้านโดยระบุข้อความว่า “บ้านอยู่ระหว่างก่อสร้าง”
เจ้าบ้าน และหน้าที่ของเจ้าบ้าน
เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะ อื่นใดก็ตาม ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติ กิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเป็นเจ้าบ้าน
เจ้าบ้าน เป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน โดยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ หากเจ้าบ้านไม่อยู่ เช่น ไปต่างประเทศ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ ดำเนินการแจ้งโดยทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ โดยนายทะเบียนบ้านจะบันทึกถ้อยคำ ให้ได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวเป็น ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านในขณะนั้น
การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน
การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน มีหลายกรณี ได้แก่
1. ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านถึงแก่ความตาย
2. กรณีบุคคลมีชื่อซ้ำในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
3. กรณีบุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-population/13-service-handbook/population/23-population-house
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://techsauce.co/news/thaid-d-dopa-thai-digital-identity
https://www.bora.dopa.go.th/app-thaid/
https://www.gotoknow.org/posts/290163