กรมส่งเสริมสหกรณ์

ประวัติย่อกรมส่งเสริมสหกรณ์
Cooperative Promotion Department History Brief

หน่วยราชการที่รับผิดชอบด้านสหกรณ์ เริ่มจากเป็นแผนกหนึ่งในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2458 ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2463 แผนกสหกรณ์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น กรมสหกรณ์

พ.ศ. 2495 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ยกฐานะกรมสหกรณ์เป็น กระทรวงการสหกรณ์ จนถึงปี พ.ศ. 2506 จึงได้ยุบกระทรวงการสหกรณ์ลง และโอนงานทั้งหมดไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้แยกส่วนราชการสหกรณ์ออกมาโดยจัดให้มีกรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2515 ได้มีการยกเลิกกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติลง และได้ตั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขึ้น จึงได้โอนอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการสหกรณ์ กรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ เป็น กรมส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์ เป็นคนแรก

พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ (2466-2555)

พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ 

ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์เป็นคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2515-2520

และได้รับเลือกเป็น นักสหกรณ์แห่งชาติประจำปี 2540

ประเภทของสหกรณ์

ในประเทศไทย มีสหกรณ์ 7 ประเภท ได้แก่[6]

* เครดิตยูเนียน (Credit Union) เป็นสถาบันการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมเพื่อใช้สำหรับเป็นทุนให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบของสินเชื่อโดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และไม่เน้นผลกำไรสูงสุด ผลกำไรที่ได้จะถูกจัดสรรเป็นสวัสดิการต่างๆ ให้แก่สมาชิก

เครดิตยูเนียน แตกต่างจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่สมาชิกของเครดิตยูเนี่ยนเป็นเจ้าของเครดิตยูเนี่ยน และสมาชิกจะเป็นผู้เลือกตัวแทนที่เป็นสมาชิกด้วยกันขึ้นมาเป็นกรรมการดำเนินการเพื่อบริหารเครดิตยูเนี่ยน โดยหลักการประชาธิปไตยหนึ่งคนหนึ่งเสียง โดยไม่มีการคำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ได้ลงทุนในเครดิตยูเนี่ยน

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
  • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ทำเนียบอธิบดีส่งเสริมสหกรณ์