กฎหมายค้ำประกัน
กฎหมายเกี่ยวกับผู้ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกัน หมายถึง บุคคลภายนอก ที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อที่จะชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระเงินนั้น (กฎหมายแพ่งและพานิช มาตรา 680)
พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20
(มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นตันไป)
สรุป สาระจากทนายเบิร์ด
“อยากรวยให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน”
สัญญาเงินกู้ ต้องไม่มีคำว่า “ลูกหนี้ร่วม”
หลังผิดนัดชำระ เจ้าหนี้ต้องแจ้งผู้ค้ำภายใน 60 วัน แจ้งให้ผู้ค้ำติดต่อลูกหนี้ชั้นต้น ให้ไปชำระเงินแก่เจ้าหนี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกฟ้อง หากเจ้าหนี้แจ้งเกิน 60 วัน ผู้คำ้ประกันจะรับผิดในดอกเบี้ยเฉพาะ 60 วัน นับตั้งแต่ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด
ผู้ค้ำรับผิดชอบเฉพาะดอกเบี้ย ตั้งแต่วันที่ผิดนัด
แนวทางดำเนินการเมื่อถูกฟ้อง
ผู้ค้ำติดต่อผู้กู้ชั้นต้น และผู้ค้ำทั้งหมด ไปขอเจรจากับเจ้าหนี้
ติดต่อศาล ขอประณีประนอมยอมความ
เจ้าหนี้สืบหาทรัพย์ของผู้กู้ชั้นต้น และผู้ค้ำทั้งหมด เจ้าหนี้ต้องบังคับเอากับผู้กู้ชั้นต้นก่อน จนกว่าผู้กู้ชั้นต้นไม่มีทรัพย์สินแล้ว จึงมาบังคับเอากับผู้ค้ำประกัน
กรณีผู้กู้ชั้นต้นเสียชีวิต และไม่มีมรดก ญาติผู้กู้ชั้นต้นจะรับผิดชอบไม่เกินทรัพย์มรดก ถ้าไม่มีมรดกญาติไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ผู้ค้ำต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ
หลังจากนั้น ผู้ค้ำประกันอาจยื่นฟ้องผู้กู้ชั้นต้น ให้ชำระเงินแก่เรา (ผู้ค้ำประกัน) ในฐานะผู้เสียหาย ที่ได้ชำระเงินแทนให้แล้ว
กฎหมายแพ่งและพานิช มาตรา 680 ให้ความหมายผู้ค้ำประกันว่า “เป็นบุคคลภายนอก ที่ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อที่จะชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระเงินนั้น”
สรุปสาระสำคัญจากทนายณัฐ
ข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ ที่กล่าวว่า "ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม” นั้น ขัดต่อกฎหมาย และถือเป็นโมะ (ฎีกา ปี 2563)
เจ้าหนี้ หาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยอาศัยอำนาจการต่อรองที่เหนือกว่า และมีความสันทัดจัดเจนในข้อกฎหมาย ถือว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่สุจริต ไม่คำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา 12
หากเจ้าหนี้ ไม่มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด ...
[มาตรา 12] ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำด้วยความสุจริตโดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม
ทั้งสัญญาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ