10 ทรัพย์สินที่กรมบังคับคดีไม่ยึดหรืออายัด

10 ทรัพย์สินที่กรมบังคับคดี ไม่ยึดหรืออายัด

การถูกยึดทรัพย์ไม่ได้หมายความว่า เราจะสูญเสียทุกอย่างไป เพราะการดำเนินการมีความคุ้มครองภายใต้กรอบของกฎหมาย มีขั้นตอน และระยะเวลา สรุปดังนี้

ทรัพย์สินที่กรมบังคับคดี "ไม่ยึด ไม่อายัด"

กฎหมายบังคับคดี ยึดอะไรได้บ้าง

ขั้นตอนการยึดทรัพย์

ก่อนถึงขั้นตอนการยึดทรัพย์สิน ต้องมีการไกล่เกลี่ย และเจรจากันมาก่อนแล้ว หากศาลพิพากษาแล้วลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหนี้ก็ต้องไปให้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีความ ออกหมายยึดทรัพย์สิน รวมถึงตรวจสอบว่าเรามีทรัพย์สินใดบ้าง สำหรับระยะเวลา ขึ้นอยู่กับการส่งฟ้องของเจ้าหนี้ ในแต่ละอายุคดีความ.

การยึดทรัพย์สิน

นื่องจากการยึดทรัพย์นั้นมีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ตอนยึดถึงขั้นตอนการดูแลรักษาในระหว่างรอการขาย เจ้าหนี้จึงเลือกยึดทรัพย์สินที่มีราคาและขายได้.ได้แก่

  1. ของมีค่า

  2. สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินฝาก หุ้น กองทุน

  3. บ้าน ที่ดิน (ที่เป็นชื่อเรา ถึงผ่อนอยู่โดนก็ยึดได้)

  4. เงินเดือนที่เกิน 20,000 บาท

  5. รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ (กรณีนี้จำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างของ "จำนำทะเบียน กับไฟแนนซ์" ให้ชัดเจน)

  • การจำนำทะเบียน : เรายังเป็นเจ้าของรถ เจ้าหนี้จะยึดต้องให้ศาลพิพากษา

  • ไฟแนนซ์ : หากเราจ่ายไม่ไหว ก็ต้องถูกยึดคืน

ทั้งนี้ การจะเก็บหรือจะขาย ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ หากแอบขายจะถือว่า "ยักยอกทรัพย์" กลายเป็นคดีอาญา และที่สำคัญต้องดูด้วยว่าคนที่จะมายึดรถใช่เจ้าหนี้ของเราจริงๆไหม

สินทรัพย์ที่ยึดหรืออายัดไม่ได้

  1. ของใช้ส่วนตัว (ราคาไม่เกิน 20,000 บาท)

  2. เครื่องใช้ในครัวเรือน (ราคาไม่เกิน 20,000 บาท)

  3. เครื่องนุ่งห่ม (ราคาไม่เกิน 20,000 บาท)

  4. เครื่องมือประกอบอาชีพ (ราคาไม่เกิน 100,000 บาท)

  5. เครื่องมือที่ใช้ช่วยหรือแทนอวัยวะ เช่น แขนเทียม ขาเทียม

  6. ทรัพย์สินอื่น ที่กฎหมายกำหนดว่ายึดไม่ได้

เงินเดือน

ในส่วนของเงินเดือนที่เกิน 20,000 บาท จะมีการส่งหมายแจ้งไปยังลูกหนี้ และนายจ้างของลูกหนี้ให้นายจ้างเป็นคนนำส่งเงินเดือนให้กับเจ้าหนี้ หากนายจ้างทำไม่ได้ก็ต้องเป็นคนใช้หนี้แทนเอง

การอายัเงินเดือนส่วนที่เกินจาก 20,000 บาท หากลูกหนี้ต้องการที่จะปิดบัญชีสามารถแถลง และคุยกับเจ้าหนี้ได้ว่าต้องการจะปิดบัญชีเพราะอะไร มีค่าใช้จ่ายเท่าใด สามารถให้เจ้าหนี้อายัดได้เท่าใด หรือมีทรัพย์สินที่สามารถเป็นหลักประกันแทนเงินเดือนให้เจ้าหนี้ยึดไปก่อน

โดยทั่วไปการอายัเงินเดือนจะมีความยุ่งยาก และได้เงินช้ากว่าการยึดทรัพย์สิน เจ้าหนี้หลายคนอาจเลือกการยึดทรัพย์สินของมีค่ามากกว่า หากตกลงกับเจ้าหนี้ไม่ได้ก็ให้ส่งคำร้องให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน

การขอลดการอายัเงินเดือน

ในกรณีต้องการขอลดการอายัเงินเดือน หากป็นหนี้ทั่วไป สามารถติดต่อเจ้าหนี้ได้ แต่หากเป็นหนี้ธนาคารแนะนให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ในสาขาธนาคารโดยตรง.

กรณีลูกหนี้เสียชีวิตจะเกิดอะไรขึ้นกับทายาท

หากลูกหนี้เสียชีวิต การบังคับคดีจะไม่ให้ทายาทรับผิดชอบเกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ เช่น หากแม่ (ผู้เป็นหนี้) เสียชีวิตลง แลมีการยกมรดกให้ลูก ทรัพย์สินของแม่เหล่านั้น อาจถูกเจ้าหนี้ยึด แต่ลูกไม่ต้องชดใช้หนี้ส่วนที่เหลือแทนแม่ หากแม่ไม่ได้มีมรดกไว้ให้ กรณีนี้ลูกไม่ต้องรับผิดชอบใช้หนี้ใดใด


ขอบคุณข้อมูล

🔸จากบทความ ถามทุกข์ตอบสุข special วันที่ 25 เมษายน 2565 ตอนที่ 2 “รู้กฎหมาย ไร้ปัญหาหนี้” หัวข้อ ทำอย่างไรดีเจ้าหนี้จะมายึดทรัพย์ (noburo.co)

🔸กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม🔸เจ้าของคลิปวิดีโอ

ขั้นตอนการขายทอดตลาด และวิธีซื้อทรัพย์

ขั้นตอนการขายทอดตลาด กรมบังคับคดี

วิธีซื้อทรัพย์จากขายทอดตลาด กรมบังคับคดี​