ข้อยกเว้นการเก็บดอกเบี้ยเกิน 15%

ข้อยกเว้นให้เรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกว่า ร้อยละ 15 ต่อปี

ในอดีต ประเทศไทยเคยมีกฎหมาย ห้ามเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราสูง มาตั้งแต่ พ.ศ. 2475

ในปี 2560 มีการปรับปรุงใช้ พ.ร.บ.ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 โดยผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทความนี้ อาจเป็นประโยชน์สำหรับลูกหนี้ ที่จะได้รู้ว่า ใครเข้าข่ายข้อยกเว้นที่สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้

สาระสำคัญ

ในมุมของลูกหนี้ ความเสียเปรียบเกิดจากความไม่รู้ว่า พ.ร.บ.ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 และไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหนี้ ซึ่งอาจเพราะเกรงกลัวผู้ให้กู้ หรือเกรงว่าหากวันหนึ่งวันใดต้องหยิบยืมอีก จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก

ในมุมของเจ้าหนี้ ก็มีประเด็นน่าเห็นใจ โดยเฉพาะผู้ให้กู้ที่กฎหมายระบุ ‘ข้อยกเว้น’ ดังกล่าว

พ.ร.บ.ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ฉบับนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการได้ เพราะกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการกู้หนี้ ทั้งในระบบและนอกระบบ อีกทั้งมีบทลงโทษต่อเจ้าหนี้ที่รุนแรง 

สิ่งที่เจ้าหนี้ต้องรู้

หากเจ้าหนี้ หรือผู้ปล่อยเงินกู้กระทำการใดๆ เข้าข่าย 3 ข้อต่อไปนี้ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากโทษที่เพิ่มขึ้น หากพบว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กฎหมายทางแพ่งมีผลให้ดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่จำนวนเงินต้นที่มีการกู้ยืมยังสมบูรณ์ ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) มีสิทธิเรียกร้องคืนได้ เพราะเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยที่เรียกเกิน เท่านั้น

ในส่วนของอายุความ ที่ต้องถูกจำคุกเพิ่มเป็นไม่เกิน 2 ปี ทำให้อายุความในการฟ้องคดีอาญาเพิ่มขึ้นไปด้วย กล่าวคือ ต้องฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับจากวันกระทำความผิด

ในขณะเดียวกัน ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำความผิด ไม่ว่าจะรับโอนสิทธิเรียกร้องโดยมีค่าตอบแทนในการรับโอน หรือเป็นการให้เปล่า (ให้โดยเสน่หา) ก็อาจต้องรับผิดเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ผู้โอนสิทธิเรียกร้อง เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ให้กู้หลีกเลี่ยงช่องโหว่ทางกฎหมาย

สิ่งที่ลูกหนี้ต้องรู้

สำหรับผู้ที่กำลังจะเซ็นสัญญากู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ นอกจากข้อกฎหมายที่ต้องรู้ เพื่อเอาผิดเจ้าหนี้ที่ละเมิดข้อกำหนด ที่ลูกหนี้ต้องทำความเข้าใจแล้ว ต้องศึกษาเรื่องของ ‘ข้อยกเว้น’ ให้เข้าใจชัดแจ้งด้วย

 ‘ข้อยกเว้น’ ดังกล่าว กำหนดไว้ 3 กรณี ดังนี้

ขอบคุณ
  • THE STANDARD WEALTH
  • บทความ ‘การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรากับความเป็นธรรมในสังคมไทย’ ของ ศ. ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช